เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และสังคม สามารถเกิดขึ้นได้จากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น โดยภัยพิบัติทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักคือ ธรณีพิบัติภัย อุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย ส่วนภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทรุดตัวของพื้นดินจากการสูบน้ำใต้ดิน
ด้วยเหตุนี้เองปัจจุบันจึงมีประกันที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติเกิดขึ้น เช่นประกันอัคคีภัยเกิดขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายหรือสูญเสียที่เกิดจากเหตุการณ์ไฟไหม้ ประกันนี้ช่วยให้เจ้าของทรัพย์สินได้รับการชดเชยทางการเงินเมื่อเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินอันเนื่องมาจากไฟไหม้ ประกันอัคคีภัยมักครอบคลุมทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านพักอาศัย โรงงาน และทรัพย์สินภายในอาคาร
การทำความสะอาดหลังจากเกิดภัยพิบัตินั้นสำคัญมาก เนื่องจากต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้พร้อมใช้งานดังเดิม ป้องกันการแพร่กระจายของโรค และการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
เป็นบริการที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูและทำความสะอาดพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ เพื่อคืนสภาพพื้นที่ให้กลับมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสะอาด โดยมีขั้นตอนดังนี้
โรงงานควรทำประกันอัคคีภัยหรือประกันโรงงานไหม?
ควรทำเนื่องจากโรงงานมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงมาก หากเกิดภัยพิบัติขึ้นอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากจึงควรทำประกันโรงงานประเภทต่าง ๆ ไว้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันความเสี่ยงภัยและทรัพย์สิน เป็นต้น
ให้ความคุ้มครองการเกิดไฟไหม้กับอาคารและสิ่งปลูกสร้าง (แต่ไม่รวมฐานราก) ที่ใช้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น โกดังหรือโรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า เป็นต้น ตลอดจนทรัพย์สินใด ๆ ที่เอาประกันภัยไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย เช่น เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น.
ให้ความคุ้มครองเป็นวงกว้าง คุ้มครองทรัพย์สินทั้งในเชิงพานิชย์หรืออุตสาหกรรมจากความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจากภัยต่าง ๆ เช่น ตัวอาคาร เครื่องตกแต่งติดตั้งตึงตรา เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องจักรต่าง ๆ ใช้กับการประกันภัยทรัพย์สินประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและการค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น.
ที่มา: การประกันภัยความเสี่ยงทรัพย์สิน
ประกันโรงงาน และอัคคีภัย ประกันภัยแบบไหนที่โรงงานควรมี – Jobsdb ไทย
ศึกษาพรบ.ป้องกันอัคคีภัยกันก่อน
ก่อนที่เราจะไปดูวิธีป้องกันไฟไหม้คลังสินค้าหรือโรงงาน ลองมาศึกษาจุดเริ่มต้นของแผนการป้องกันอัคคีไฟในสถานปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จจากพรบ.ป้องกันอัคคีภัยกันก่อน เพราะการทำการประเมินความเสี่ยงตามพรบ.ป้องกันอัคคีภัยที่ใช้ในประเทศเป็นก้าวแรกในการวางแผนรับมือกับปัญหาไฟไหม้ในสถานปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงทุกประเภท โดยการประเมินความเสี่ยงส่วนใหญ่จะประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอนต่อไปนี้ :
ดูแลคลังสินค้าให้ปลอดภัยด้วยเคล็ดลับป้องกันไฟไหม้ต่อไปนี้
ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โกดังหรือคลังสินค้า ก็สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ด้วย 10 วิธี ที่เรานำมาเสนอในวันนี้ค่ะ
ใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแผนประเมินความเสี่ยง นำมากำหนดขั้นตอนการป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะกับความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ จากนั้นอบรมขั้นตอนดังกล่าวให้แก่พนักงานทุกคนเพื่อให้การรับมือกับเหตุเพลิงไหม้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างแผนการตรวจสอบตนเองให้แก่พนักงานเพื่อรักษามาตรฐานการดูแลสถานที่และการป้องกันอัคคีภัย
จัดซื้อจัดหาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันไฟไหม้คลังสินค้าทั้ง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดับเพลิง หัวกระจายน้ำ และระบบตรวจจับอัคคีภัยอัตโนมัติ โดยจำนวนและประเภทของเครื่องดับเพลิงที่ต้องการขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ
เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคลังสินค้าโกดังและโรงงาน ของคุณขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ การใช้แผนป้องกันอัคคีภัยแบบเหมารวมนั้นไม่เพียงพอและเป็นอันตราย เพราะฉะนั้นการเลือกใช้งานเครื่องมือแต่ละประเภทควรพิจารณาจากความเหมาะสมเป็นหลัก เพื่อให้แผนป้องกันไฟไหม้โรงงาน โกดังและคลังสินค้าของเรามีประสิทธิภาพมากที่สุดค่ะ
การไม่จัดระเบียบพื้นที่หรือไม่จัดเก็บสิ่งของต่าง ๆ ให้เป็นสัดส่วนและเหมาะสมนั้นเป็นปัจจัยก่อให้ความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ในหลายด้าน ทางเดินที่แน่นขนัดอาจปิดกั้นทางออก ทำให้คนหนีออกไปได้ยากขึ้น คลังสินค้าที่แออัดทำให้เพลิงขยายวงกว้างได้ง่าย หรือการเก็บวัตถุอันตราย เช่น ของเหลวไวไฟเอาไว้กับสินค้าอื่น ๆ ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดเพลิงลุกไหม้เร็วขึ้น ฯลฯ
ดังนั้นการจัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนและเหมาะสม จึงเป็นสามัญสำนึกพื้นฐานของการป้องกันไฟไหม้คลังสินค้า โกดัง หรือโรงงาน โดยเราต้องจัดการไม่ให้มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ตัดต่อไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำความร้อน ห้ามเก็บสินค้าภาย เว้นระยะห่างมากพอระหว่างหัวกระจายน้ำดับเพลิงและสินค้าที่จัดเก็บเพื่อให้ระบบกระจายน้ำดับเพลิงพ่นน้ำลงในบริเวณดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแยกวัตถุอันตรายออกจากวัตถุไม่อันตราย
การจัดเก็บสิ่งของอย่างมีระบบจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ลงได้ค่ะ
ระบบไฟฟ้าที่บกพร่องคือภัยเงียบอย่างที่คุณก็อาจคาดไม่ถึง ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบว่าระบบไฟฟ้าของคลังสินค้าโกดังและโรงงานของคุณติดตั้งและได้รับการบำรุงรักษาตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาติดตั้งบำรุงระบบไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติถูกต้องให้มาตรวจสอบและทดสอบระบบไฟฟ้าของคุณเป็นประจำ หากตรวจพบข้อบกพร่องใด ๆ จะได้ทำการแก้ไขทันที เพราะไม่อย่างนั้นระบบไฟฟ้าที่เราปล่อยให้เสียหายอาจเป็นตัวการก่อไฟไหม้ขึ้นมาก็ได้ค่ะ
การลอบวางเพลิงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของเพลิงไหม้คลังสินค้า ดังนั้นอย่าลืมปกป้องธุรกิจของคุณจากความเสี่ยงข้อนี้โดยการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยทั้งภายนอกและภายในสถานที่ เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย กล้องรักษาความปลอดภัย และสัญญาณเตือนภัย เพื่อขัดขวางผู้บุกรุกและพิทักษ์คลังสินค้าของคุณ
ทุกโรงงานโกดังและคลังสินค้าควรตั้งกฎห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน แต่อาจจัดมุมสำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะเอาไว้นอกอาคารโดยมีโครงสร้างปิดล้อมอย่างเป็นสัดส่วน อย่าลืมสร้างเพิงสำหรับสูบบุหรี่โดยใช้วัสดุที่ไม่ติดไฟ และห้ามวางวัตถุไวไฟภายในระยะ 10 เมตร ของเพิงสำหรับสูบบุหรี่ด้วยนะคะ
เครื่องจักรและระบบทำความร้อนของโรงงานขัดข้องเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟฟ้าโรงงาน เป็นภัยเงียบอย่างที่คุณก็อาจคาดไม่ถึง ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบว่าระบบเครื่องจักรและระบบทำความร้อนของคลังสินค้าโกดังและโรงงานของคุณติดตั้งและได้รับการบำรุงรักษาตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาติดตั้งบำรุงเครื่องจักรและระบบทำความร้อนที่มีคุณสมบัติถูกต้องให้มาตรวจสอบและทดสอบระบบเครื่องจักรและระบบทำความร้อนของคุณเป็นประจำ หากตรวจพบข้อบกพร่องใด ๆ จะได้ทำการแก้ไขทันที เพราะไม่อย่างนั้นเครื่องจักรและระบบทำความร้อนที่เราปล่อยให้เสียหายอาจเป็นตัวการก่อไฟไหม้ขึ้นมาก็ได้ค่ะ
การสะสมขยะในโรงงานโกดังคลังสินค้ามีความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการเกิดอัคคีภัย ดังนั้นพนักงานจะต้องกำจัดขยะทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวันและนำไปทิ้งที่ถังรับภายนอกซึ่งจะต้องตั้งอยู่ห่างจากอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร และห่างจากเขตรั้วของสถานที่ประกอบการของคุณอย่างน้อย 2 เมตร
หากสถานประกอบการของคุณไม่อนุญาตให้ทำการจัดเก็บขยะประเภทนี้ เก็บขยะไว้ในตู้โลหะที่สามารถล็อคได้ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอาคารในระยะที่เหมาะสม
เมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและผ่านการอบรมจะต้องตรวจสอบทุกพื้นที่ของอาคารโรงงานและคลังสินค้า และบันทึกผลการตรวจสอบอย่างละเอียดตามรายการที่กำหนดไว้ โดยต้องทำการตรวจสอบว่ามีการกำจัดวัสดุที่เป็นเศษซากแล้วหรือไม่ ระบบป้องกันไฟไหม้และระบบรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ทำงานเป็นปกติหรือเปล่า รวมถึงมีการแยกเก็บวัตถุหรืออุปกรณ์อันตรายตามที่กำหนดหรือไม่
นอกจากการเตรียมการเพื่อป้องกันไฟไหม้คลังสินค้า โกดังหรือโรงงานตามวิธีที่เราแนะนำไปแล้ว การปกป้องและคุ้มครอง “ความเสี่ยง” ด้วยการทำประกันอัคคีภัยก็เป็นอีกตัวเลือกเพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นให้กับธุรกิจของเราได้ค่ะ ดังนั้นทุกอาคารโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า ท่านผู้ประกอบการควรจัดการให้มีการทำประกันภัยไว้เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดค่ะ
CR.10 วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงานและโกดังคลังสินค้า
กระบวนการทำความสะอาดหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ของวันมอร์ลิงค์จะมีอยู่ 2 ขั้นตอนหลักดังนี้
หลังจากที่เหตุน้ำท่วมจบลง ย่อมตามมาด้วยความเสียหายทั้งร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการดูแล และฟื้นฟูความเสียหายเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นก่อนที่เราจะกลับไปอยู่บ้านหลังน้ำลดควรทำ 6 สิ่งเพื่อให้อยู่บ้านอย่างปลอดภัย ดังนี้
เตรียมตัวก่อนทำความสะอาด สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น ใส่ถุงมือ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าบูท แว่นตา และหน้ากากอนามัย ป้องกันไม่ใช้เชื้อโรคโดนตัวเรา นอกจากที่ต้องเตรียมอุปกรณ์สวมใส่แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คืออุปกรณ์ทำความสะอาด แปรงขัดพื้น ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้ถูพื้น ถังน้ำ กระดาษทิชชู หรือผ้าทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาสั่งผ้าขาว เบคกิ้งโซดา ส่วนผสมของโซเดียมโฮคลอไรด์ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค และน้ำยาทำความสะอาด
หลังจากที่เราเตรียมของพร้อมทำความสะอาด สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ ต้องตรวจสอบการรั่วของกระแสไฟฟ้า หากไม่แน่ใจให้ปรึกษาช่างไฟก่อนจะดีที่สุด และ เมื่อไม่มีการรั่วของกระแสไฟฟ้าแล้ว ให้เราลดความชื้นโดยการเปิดหน้าต่าง ประตู บานเกล็ด เพื่อให้ลมอากาศถ่ายเทเข้ามาได้สะดวก พร้อมสำรวจบ้าน ระวังสัตว์อันตราย เศษกระจก เศษเหล็ก อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากพบเฟอร์นิเจอร์ที่ขึ้นราอย่าพยายามสูดดม ถ้าตัดใจทิ้งได้จะดีกว่า
ฉีดน้ำล้าง ขัดตะไคร่น้ำ หรือสิ่งสกปรกออก แล้วใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมตามความต้องการ พื้นที่ หรือสิ่งของ ที่พบเชื้อรา ห้ามฉีดน้ำ ให้ใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาชักผ้าขาวที่ผสมน้ำในอัตราส่วน 300 ml ต่อน้ำ 4 ลิตร เช็ดคราบเชื้อราทิ้งไว้ 15 – 30 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือจะปล่อยให้แห้งเอง จะใช้พัดลมเป่า ก็ตามที่เราพอใจได้ครับ
ที่มา.https://www.dohome.co.th/th/dohome-guides/knowledge/cleaningflood/
บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด รับทำความสะอาดหลังเกิดเหตุไฟไหม้ น้ำท่วม หรือภัยพิบัติอื่น ๆ ในโรงงานและทุกสถานที่ เรามีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษาและมีผู้เชี่ยวชาญในการทำความสะอาดหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ นอกจากนี้เราได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 และ 14001 เพื่อตอกย้ำว่าบริษัทของเรามีมาตรฐานสากล ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน และสามารถตรวจสอบได้