สถานการณ์น้ำท่วมประเทศไทยปี2567 ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของพายุโซนร้อน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะพายุจากแถบทะเลจีนใต้ที่มีอิทธิพลส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่ำและพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหล ซึ่งปัญหานี้ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทำให้อากาศแปรปรวนที่ส่งผลให้ฤดูฝนยาวนานขึ้น น้ำท่วมได้ส่งผลต่อภาคเกษตรกรรมที่ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของประเทศไทย โดย 30% ของการจ้างงานภาคการเกษตรไม่อาจเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจได้อีกแล้ว
นอกจากนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วยยิ่งส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร การผลิตและความมั่นคงของรายได้เกษตรกรด้วย ภาคเกษตรกรรมสถานการณ์ยังเลวร้าย ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประเมินผลกระทบน้ำท่วมภาคเกษตร ในช่วงก.ค.–ก.ย. 2567 พบว่า มีพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มสูงถึง 1.28 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าว 1 ล้านไร่ พืชสวน 6-7 แสนไร่ จึงจำเป็นต้องเร่งใช้งบ 1.83 แสนล้านบาท ในการบรรเทาความเสียหายและทำโครงการลงทุนเพื่อให้เม็ดเงินหมุนในเศรษฐกิจมากขึ้น
ขณะที่ หอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 มีมูลค่าความเสียหาย 29,845 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 0.17% ของ GDP ซึ่งภาพรวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 3 ล้านไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่การเกษตร 1,166,992 ไร่ และพื้นที่อื่นๆ 1,826,812 ไร่
อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 2.45 หมื่นล้านบาท หรือ 82.3% ของความเสียหายทั้งหมด รองลงมาเป็นภาคบริการ 5.12 พันล้านบาท ตามด้วยภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบไม่มาก 171 ล้านบาท สอดคล้องกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า มีอย่างน้อย 36 จังหวัดของไทยที่ได้รับผลกระทบนี้
นอกจากรัฐจะเยียวยาเรื่องน้ำท่วมให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว ปัจจุบันยังมีการเดินหน้าผลักดันให้เกษตรกรไทยหันมาใช้เทคโนโลยี ผ่าน Agriculture Hub ซึ่งรัฐบาลไทยประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพสูงในการพัฒนาไปสู่การเป็น Agriculture Hub แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน รวมถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติและเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เช่น การใช้เครื่องมืออัจฉริยะเพิ่มผลผลิต และการร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาแนวคิดใหม่ นอกจากนี้เกษตรกรจำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุน นโยบายสนับสนุน และการฝึกอบรมเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ และนอกจากนี้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ยังช่วยส่งเสริมการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลก
“การแข่งขันในระดับโลกย่อมมีความท้าทายสูง องค์กรอย่างธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป (EIB) ได้ให้เงินสนับสนุนจำนวนมากเพื่อส่งเสริมเกษตรที่ยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องพัฒนากลยุทธ์เพื่อคงความเป็นผู้นำในภาคส่วนนี้ แรงขับเคลื่อนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Agriculture Hub” อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศแผนสนับสนุนให้เกษตรกรไทยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตร ในหลายพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้จริงในพื้นที่เพาะปลูกของตน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และนักวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง
โดยมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็น Agriculture Hub เนื่องจากมีพื้นที่เกษตรที่กว้างขวางและหลากหลาย นอกจากนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การใช้เทคโนโลยี และการสนับสนุนจากรัฐบาลจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในภาคการเกษตรและทำให้ประเทศไทย สามารถแข่งขันในตลาดเกษตรโลกได้ อนาคตของภาคเกษตรไทย
สำหรับแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566-2570 เป็นก้าวสำคัญในการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงคุณภาพอาหารของไทย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืนต้องอาศัยแนวทางที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างระบบการเกษตรที่รองรับต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยที่ผ่านมาไทยได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่หรือ New Breeding Technology – NBT โดยเฉพาะการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing) โดยร่วมกับทางกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านการวิจัยและการกำกับดูแล เมื่อ 24-29 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา แกนหลักของความร่วมมือนี้ก็เพื่อช่วยให้ภาคการเกษตรได้นำเทคโนโลยีนี้นำไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและรองรับวิกฤตความมั่นคงทางอาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต เนื่องจากเส้นทางสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรระดับโลกอาจไม่ง่าย แต่ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในภาคเกษตรจะไม่เพียงส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ยังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและชุมชน เพื่ออนาคตที่มั่นคงยั่งยืนต่อไป
CR.https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/853586
#เทรนวันนี้ #วันมอร์ลิงค์ #onemorelink #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม
#สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก