อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste หรือ E-Waste) 

หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) คือ ซากเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็กในการทำงานที่ทำงานไม่ได้มาตรฐาน หรือหมดอายุการใช้งาน อุปกรณ์เหล่านี้จึงกลายเป็นขยะ โดยจะถูกคัดแยกและนำไปกำจัดต่อไป 

ปัจจุบันมีการมีเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เยอะมาก จึงทำให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในประเทศไทยมีแนวโน้มของขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทุกปี หากไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธีจะทำให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะซากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบ 

จากการคาดการณ์ของ World Economic Forum รายงานว่าในปี 2562 ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นราว ๆ 50 ล้านตัน และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 120 ล้านตัน ในปี 2593 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันก็ยังกำจัดไม่ถูกวิธีเยอะมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบตามมาเยอะมาก

แล้วขยะอิเล็กทรอนิกส์อันตรายอย่างไร?

ในปัจจุบันทั่วโลกมีการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบถูกกฎหมายเพียงแค่ 20% ในส่วนที่เหลืออีก 80 % ถูกนำไปฝังกลบ และนำไปเผา เป็นจำนวนมาก ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้ไปกำจัดนอกประเทศ ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะมีปรอท ตะกั่ว และสารอันตรายที่เป็นส่วนประกอบ หากนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องหรือนำไปรีไซเคิลแบบไม่ถูกต้องจะทำให้สารพิษเหล่านี้ปนเปื้อนลงดิน แหล่งน้ำ ทำให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และชีวิตของมนุษย์

การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ทมาถึงสถานที่รับกำจัดแล้ว จะถูกส่งเข้าไปยังกระบวนการคัดแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยวัสดุที่ได้ออกมาจะได้ เงิน ทอง แบตเตอรี่ และแผงวงจร เป็นต้น ชิ้นส่วนที่คัดแยกออกมาแล้ว จะถูกเข้าสุ่กระบวนการรีไซเคิล ด้วยการนำเข้าเตาหลอมแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่

 

การกำจัดโซล่าเซลล์

ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์กันมากขึ้น ทำให้การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้นเยอะเช่นกัน แต่แผงโซล่าห์เซลล์นั้นก็มีวันเสื่อสภาพเช่นกัน ถึงแม้ว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์นั้นจะช่วยลดโลกร้อนได้แต่หากไม่มีการกำจัดแผงโซล่าเซลล์ที่เสื่อมสภาพอย่างถูกวิธีนั้นก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน แผงโซล่าเซลล์นั้นจะมีอายุการใช้งานอยุ่ที่ 25 – 30 ปี หลังจากนั้นก็จะต้องกำจัดทิ้ง 

ส่วนประกอบหลักของแผงโซล่าเซลล์นั้นประกอบไปด้วย เซลล์แสงอาทิตย์ซิลิกอน กรอบโลหะ แผงกระจก และลวดนำไฟฟ้า   ปัจจุบันการกำจัดแผงโซล่าเซลล์มีอยู่ 2 ส่วนคือ แผงโซล่าเซลล์ที่เสื่อมสภาพ กับแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้ไม่ได้แล้ว ในส่วนของแผงโซล่าเซลล์ที่เสื่อมสภาพนั้นแค่นำอุปกรณ์บางส่วนเช่น     ไดโอด สายไฟ มาเปลี่ยแล้วนำแผงโซลาห์เซลล์ไปรีไซเคิลแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถนำไปใช้ใหม่ได้แล้ว แต่ในส่วนของแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วนั้นจะมีวิธีการกำจัดอยู่ 2 รูปแบบ คือส่งไปกำจัดที่ต่างประเทศ และจัดการภายในประเทศด้วยวิธีการฝังกลบหรือเผาทำลายในเตาเผาของเสียอันตรายโดยเฉพาะ       

แต่การฝังกลบเป็นที่น่ากังวลเพราะถ้าเกิดสารพิษปนเปื้อนจะทำให้พื้นดินบริเวณที่ฝังกลบนั้นใช้การไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเริ่มมีการรีไซเคิลแผงโซล่าเซลล์ที่มากขึ้น  โดยองค์ประกอบของแผ่นเซลล์จะประกอบด้วย กระจก 91 % แผ่นซิลิกอน 6% ลวดนำไฟฟ้า 1%  และ  EVA+Backsheet 2% เมื่อเรานำแผงโซล่าเซลล์มารีไซเคิลแล้วสิ่งที่ได้ออกมาคือ

  1. กระจกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตฟริตและวัตถุดิบทดแทนในอุตสาหกรรมกระจก
  2. ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ที่ได้มาจากการรีไซเคิลแถบลวดนำไฟฟ้า
  3. Slag (ตะกรัน)  ที่ได้มาจากการรีไซเคิลแถบลวดนำไฟฟ้า
  4. Anode Slime  ที่ได้มาจากการรีไซเคิลแถบลวดนำไฟฟ้า
  5. เงินบริสุทธิ์ 99% ที่ได้มาจากการรีไซเคิลแผ่นซิลิกอน
  6. แผ่นซิลิกอน 99.9% ที่ได้มาจากการรีไซเคิลแผ่นซิลิกอน
  7. Aluminium Hydroxide ที่ได้มาจากการรีไซเคิลแผ่นซิลิกอน

     ซึ่งตอนนี้ทางภาคเอกชนก็ได้ให้ความสนใจเรื่องการรีไซเคิลแผงโซล่าเซลล์กันมากขึ้นแล้ว คาดว่าในอนาคตจะพร้อมรับมือกับแผงโซล่าห์เซลลืที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้แล้ว

 

รถ EV คืออะไร?

รถ EV หรือชื่อเต็มว่า Electric Vehicle แปลได้ว่า “รถไฟฟ้า” เป็นยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า แทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป จะใช้พลังงานจากไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน โดยรถ EV จะเก็บพลังงานเอาไว้ในแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้ และแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ ซึ่งจะทำงานเหมือนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เครื่องยนต์จะเงียบและไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงาน ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็ปรับตัวมาผลิตรถยนต์ EV แทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันกันมากขึ้น

      ปัจจุบันรถยนต์ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้า แบ่งออกได้ 3 ประเภท (แบ่งตามเทคโนโลยี) ดังนี้

  1. รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ประเภทนี้ผสมระหว่างเชื้อเพลิงทั่วไปและพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่าแบบใช้เครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว เมื่อมีการเหยียบเบรก พลังงานบางส่วนจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และสามารถใช้ในการขับเคลื่อนครั้งต่อไป
  2. รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) รถยนต์ประเภทนี้มีระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบไฟฟ้าเช่นเดียวกับรถยนต์ไฮบริด แต่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้จากภายนอก หรือ Plug-in ทำให้เสียบชาร์จพลังงานแล้วรถก็สามารถวิ่งไปได้ในระยะทางที่มากกว่าระบบไฮบริดเดิม แบตเตอรี่ที่ใช้ยังสามารถชาร์จไฟเพิ่ม เพื่อกักเก็บประจุได้ตามต้องการ และเมื่อแบตเตอรี่หมดรถก็จะทำงานคล้ายกับระบบไฮบริด (HEV)
  3. รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวในการขับเคลื่อน (Plug-in Electric Vehicle: PEVs) รถยนต์ประเภทนี้คล้ายคลึงกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV เพียงแต่จะมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานเพียงอย่างเดียว เมื่อแบตเตอรี่หมดต้องเสียบปลั๊กชาร์จประจุใหม่ ซึ่งรถยนต์ประเภทนี้จะสามารถแบ่งออกได้อีก 3 ประเภท

                 3.1 รถไฟฟ้าที่ใช้วิ่งในระยะสั้น: มีช่วงการขับขี่ต่ำ และความเร็วต่ำ

                 3.2 รถยนต์ไฟฟ้าประเภท Battery Electric Vehicle (BEV):                     ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยจะใช้แบตเตอรี่ 100 % จึงต้องมี                     แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ สามารถวิ่งในระยะไกลได้ การปล่อยมลพิษนั้น                     จะเป็นแบบ Zero Emission ระยะทางในการวิ่งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับ                         แบตเตอรี่

                 3.3 รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric                           Vehicle: FCEV): เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนและใช้พลังงาน                         ไฟฟ้าจาก Cell เชื้อเพลิง (Fuel Cell) โดยเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน                       จากการเติมเชื้อเพลิงภายนอก โดยไม่มีการปล่อยมลพิษและก๊าซ                         คาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์โดยตรง มีเพียงการปลดปล่อยน้ำ                       เท่านั้น ในปัจจุบันรถยนต์ประเภทนี้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และคาด                   ว่าจะมีการเติบโตเข้าตลาดในไม่ช้า

หากในอนาคตคนทั่วโลกใช้รถ EV มากขึ้น แน่นอนว่าแบตเตอรี่จากรถยนต์ที่เสื่อมสภาพหรือใช้การไม่ได้แล้วของรถยนต์ก็จะมากขึ้น ดังนั้นต้องเตรียมรับมือเกี่ยวกับการจัดการแบตเตอรี่ที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต

แบตเตอรี่ คืออะไร?

แบตเตอรี่ คือ อุปกรณ์ที่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟฟ้า ลักษณะจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มากมีการทำปฏิกิริยาเคมีภายใน จึงเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมา โดยแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับรถยนต์นั้นจะจ่ายกระแสไฟไปที่ไดร์สตาร์ทเพื่อให้เครื่องยนต์ติด และไฟฟ้าที่ใช้ในรถยนต์ก็จะมาจากไดร์ชาร์จ

แบตเตอรี่มีกี่ประเภท?

ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้งานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 

  1. แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ แบตเตอรี่ชนิดปฐมภูมิ (primary batteries) เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว จะไม่สามารถนำมาชาร์จเพื่อนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง เช่น แบตเตอรี่แบบลิเทียม หรือที่เรียกกันว่า “ถ่าน” ที่ใช้กับนาฬิกา วิทยุ และรีโมท เป็นต้น
  2. แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ หรือ แบตเตอรี่ชนิดทุติยภูมิ (rechargeable batteries) เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว จะสามารถนำกลับมาชาร์จเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Li-ion) ที่ใช้กับโทรศัพท์ และรถยนต์เป็นต้น

ปัญหาของแบตเตอรี่รถยนต์หากถูกกำจัดแบบไม่ถูกต้องโดยปกติแล้วมาตรฐานของ “แบตเตอรี่รถยนต์” จะมีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ เช่น ตะกั่ว เหมือนกับกรดและพลาสติก หากไม่ได้กำตัดแบบถูกต้ององค์ประกอบของแบตเตอรี่รถยนต์เหล่านี้จะปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

การกำจัดแบตเตอรี่

วิธีการกำจัดแบตเตอรี่ที่ถูกต้องและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ การรีไซเคิล โดยแบตเตอรี่ที่นำมารีไซเคิลนั้นส่วนมากจะเป็นแบตเตอรี่รถยนต์ มักจะเป็นชนิดกรด – ตะกั่ว ซึ่งส่วนประกอบของมันจะสามารถรีไซเคิลได้ถึง 97% ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนหลัก

ขั้นตอนการรีไซเคิลแบตเตอรี่

  1. การทำแบตเตอรี่ให้แตกเป็นชิ้น ๆ 
  2. ชิ้นส่วนของแบตเตอรี่ที่ทำให้แตกนั้นจะถูกนำไปแยกส่วนที่เป็นพลาสติก ออกจากส่วนที่เป็นสารละลาย ตะกั่ว และโลหะหนักอื่น ๆ 
  3. ชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกนั้นจะถูกนำไปล้าง แล้วทำให้แห้ง จากนั้นจะส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลพลาสติกเพื่อนำไปเป็นพลาสติกใหม่
  4. แผงตะกั่วจะถูกนำไปหลอมให้เป็นตะกั่วแท่ง แล้วกำจัดสิ่งเจือปนทิ้ง
  5. กำจัดกรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถกำจัดได้ 2 วิธีคือ ปรับให้เป็นกลางแล้วกำจัดทิ้ง และทำให้เป็นโซเดียมซัลเฟต

รูปภาพจาก

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=3&ID=13

การกำจัดแบตเตอรี่ในประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนีก็มีการกำจัดแบตเตอรี่เช่นเดียวกัน ในการกำจัดแบตเตอรี่จะกำจัดโดยการนำไปรีไซเคิล โดยขั้นตอนในการรีไซเคิลมี 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. คายประจุออกจากแบตเตอรี่ ให้ในแบตเตอรี่เหลือประจุเป็นศูนย์
  2. ทำลายแบตเตอรี่ให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ (บด) ภายใต้ไนโตรเจนเพื่อไม่ให้เกิดไฟไหม้
  3. ผสมแบตเตอรี่ที่ถูกบดในเครื่องสุญญากาศและระเหยอิเล็กโทรไลต์ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยากับแบตเตอรี่ที่เหลือ

หลังจากนั้นก็จะสามารถนำอิเล็กโทรไลต์กลับมาใช้ใหม่ได้และได้ผลลัพธ์เป็นส่วนผสมแห้งของวัสดุที่ดีขึ้นและสามารถแยกได้ในภายหลัง ซึ่งส่วนผสมที่ได้ออกมานี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย สามารถดูวิดีโอได้ที่นี่ คลิก

การกำจัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่ของวันมอร์ลิงค์

บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด เรารับกำจัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่ทุกประเภท โดยเรามีทีมงานที่จะคอยให้คำปรึกษาและมีผู้เชี่ยวชาญในการกำจัดอย่างถูกวิธี เราได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 และ 14001 เพื่อตอกย้ำว่าบริษัทของเรามีมาตรฐานสากล  ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน และสามารถตรวจสอบได้