เป็นพลาสติกที่นำมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปซึ่งจะใช้สารช่วยขยายในการขึ้นรูป วัสดุที่ใช้ในการผลิตโฟมแบ่งออกได้ 3 ชนิดคือ โพลียูรีเทน (PU) โพลีสไตรีน (PS) และโพลีเอทิลีน (PE) โดยประเภทของโฟมนั้นก็จะแบ่งได้จากวัสดุที่ใช้ในการผลิตโฟม ดังนั้นโฟมก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งลักษณะของเนื้อโพลิเมอร์มีความหนาแน่นต่ำ ผลิตมาจากไดไอโซไซยาเนต (Di-Isocyanate) และ โพลิอีเทอร์ (Polyether) ปัจจุบันนิยมใช้แก๊สหรือวัสดุระเหยง่ายขนิดอื่นที่เป็นสารช่วยฟู มาทำปฏิกิริยาแล้วทำให้เคมีเซ็ทตัวออกมาเป็นเนื้อโฟม โดย PU Foam แบ่งออกได้อีก 2 ชนิด คือ
1.1 Rigid Foam : มีลักษณะที่แข็ง มีความหนาแน่นสูง ทนทาน เมื่อถูกกดจะไม่คืนตัว น้ำหนักเบา ทนทานต่อการเสื่อมสภาพ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ อาทิเช่น ฉนวนกันความร้อน/ความเย็นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, ทุ่นลอย และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
1.2 Flexible Foam : มีความยืดหยุ่น ความหนแน่นต่ำ เมื่อถูกบีบหรือกดจะคืนตัวได้ง่าย น้ำหนักเบา นิยมทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ อาทิเช่น เบาะเก้าอี้ และเตียงนอน เป็นต้น
2.PS Foam : ทำมาจากสไตรีนโมโนเมอร์ น้ำหนักเบา รับแรงกระแทกได้ดี โดย PS Foam แบ่งได้อีก 2 ประเภทหลักคือ Expandable (ESP) และ Paper (PSP)
2.1 Expandable (ESP) หรือ โฟมแผ่นหรือโฟมก้อน: เป็นผลพลอยได้จากการผลิตปิโตรเลียม โดยจะได้มาในรูปแบบเม็ดพลาสติกเรซิน พอผสมกับสารช่วยฟูอย่างก๊าซเพนเทน แล้วผ่านกระบวนการให้ความร้อนจากไอน้ำ ทำให้เกิดเป็นเม็ดโฟม ESP สีขาวที่ขายตัว 50 เท่า เมื่อเกิดการขยายตัวอากาศก็จะเข้ามาแทนที่ 98% ของปริมาตรเนื้อพลาสติกซึ่งมี 2% ก็เลยทำให้โฟมมีขนาดใหญ่แต่เบา โฟมชนิดนี้จะมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น นำมาตัดขึ้นรูปได้ง่าย เบาแต่รับน้ำหนักได้ดี ส่วนใหญ่ใช้กันกระแทกในการบรรจุสินค้าที่มีค่า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล๋กืรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ หรือในการใช้หมวกกันน็อค ใช้เป็นฉนวน และกล่องน้ำแข็งเป็นต้น
2.2 Paper (PSP) หรือ โฟมที่ใช้เป้นบรรจุภัณฑ์อาหาร : ใช้ก๊าซหุงต้มหรือ Butane (C4H10) ทำให้ขยายตัว วัตถุดิบที่นำมาใช้ก็คือเม็ดพลาสติก PS ทั่วไป จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฉีดโดยใช้สกูรที่มีความรู้ เมื่อเม็ดพลาสติกผ่านสกูรความร้อนจะหลอมตัว ตอนที่จะออกมาก็จะถูกฉีดด้วยก๊าซ Butane (C4H10) ทำให้พลาสติกที่กำลังถูกหลอมเกิดการขยายตัว 20 เท่า โดยพลาสติกจะออกมาแบบแผ่นแล้วม้วนตัวคล้ายม้วนกระดาษ ในการนำไปใช้ก็จะสามารถนำม้วนโฟมนี้ไปขึ้นรูปได้เลย เช่น กล่องข้าว โดยโฟมประเภทนี้จะมีน้ำหนักเบา กันกระแทกได้ดี มีความยืดหยุ่น เป็นต้น
3.PE Foam : ทำมาจากโพลีเอทิลีน (Poly Etylene) เมื่อนำมาคลือบฟลอยล์ก็จะสามารถลดความร้อนได้ มีความยืดหยุ่นสูง นิยมใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ มันยังกันความร้อนได้ดี น้ำหนักเบา ทนทนต่อการกัดกร่อนจึงเหมาะกับการใช้ในโรงงานเคมี
ต้องกล่าวก่อนว่าอายุการย่อยสลายของโฟมนั้นนานมากประมาณ 1,000 ปี หรือแทบจะไม่ย่อยสลายเองในธรรมชาติเลยซึ่งในการกำจัดโฟมนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
ผลกระทบของโฟมต่อสิ่งแวดล้อม
โฟมนั้นใช้เวลาในการย่อยสลายนานมาก การนำไปฝังกลบนั้นต้องใช้พื้นที่มาก สารพิษที่อยู่ในโฟมนั้นจะตกค้างตามกองขยะและหากนำไปเผาก็จะก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากอยากกำจัดโฟมแบบถูกต้องและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น วันมอร์ลิงค์มีทางออกให้ทุกคน
โฟมที่วันมอร์ลิงค์รับกำจัด
การกำจัดและการจัดการโฟมในประเทศไทย
ในการกำจัดโฟมในประเทศไทยนั้นจะเน้นการกำจัดอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ คือ การเผา การฝังกลบ และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) โดยกรนำกลับมาใช้ใหม่นั้นก็สามารถทำได้โดยการ ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน ทำเชื้อเพลิงผสม และวัสดุทดแทนเป็นต้น
วิธีกำจัดโฟมตามรหัสการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของวันมอร์ลิงค์
ทางวันมอร์ลิงค์มีทีมงานที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการกำจัดโฟม จึงมั่นใจได้ว่าโฟมจะถูกกำจัดอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา:
1.พี.ยู.โฟม (P.U.Foam) คืออะไร?
การบริการของวันมอร์ลิงค์
บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด การบริการรับกำจัดโฟมของ Onemorelink โฟมที่วันมอร์ลิงค์รับกำจัด 1.เม็ดโฟมทั่วไป 2.โฟมอัดแผ่น 3.เศษโฟม และเราได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 และ 14001 เพื่อตอกย้ำว่าบริษัทของเรามีมาตรฐานสากล ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน และสามารถตรวจสอบได้