ฝีมือคนไทย! คอนกรีตรักษ์โลกจากเปลือกหอยนางรม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

คอนกรีตจากเปลือกหอยนางรมนี้มีชื่อว่า OYSTER[CRETE] นี่คือไอเดียรักษ์โลกดี ๆ จากสถาปนิกสัญชาติไทย คุณ “มูก้า ศรีสุรโยธิน” ผู้ก่อตั้ง แมทเทอร์ ฟอร์ม สตูอิโอ (Matter Forms Studio) ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

คุณ มูก้า อธิบายว่านี่เธอเกิดไอเดียเปลี่ยนหอยนางรมเป็นคอนกรีตสมัยช่วงที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมบาร์ตเลตต์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London) เพราะว่าเธอมีความสนใจที่จะเลือกสรรวัสดุเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

แล้วทำไมต้องเป็นหอยนางรม? เนื่องจากเธออาศัยอยู่ที่กรุงลอนดอน นั่นทำให้เธอพบว่าหอยนางรมเป็นอาหารยอดนิยมอย่างมาในมหานครแห่งนี้ และมีการทิ้งเปลือกหอยราววันละ 5,000 ชิ้น ซึ่งหากไม่มีใครนำไปทำอะไร เปลือกหอยเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปเข้ากระบวนการฝังกลบ

ด้วยเหตุฉะนี้ เธอจึงนำเปลือกหอยนางรมมาศึกษา จนพบว่ามันมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับหินปูน จึงพัฒนาขึ้นเป็น OYSTER[CRETE]

ขั้นตอนการผลิตมีดังนี้

  • รวบรวมเปลือกหอยนางรมทุกไซซ์ ที่มีสภาพสมบูรณ์ และคัดแยกตามขนาด
  • นำไปเข้าเครื่องจักรเพื่อบดให้ละเอียด
  • เติมส่วนผสมลงไปเพื่อขึ้นรูปเป็นเนื้อคอนกรีต

เจาะลึกลงในรายละเอียดส่วนผสม 80% คือเปลือกหอยนางรม อีก 20% ที่เหลือคือทราย และดินเหนียว

เมื่อได้คอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือนำไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ โดยปัจจุบัน คอนกรีตจากเปลือกหอยถูกพัฒนาไปเป็นถาดอาหาร พื้นผิวของเคาน์เตอร์ ทางสถาปนิกหญิงเล่าว่าเธอวางแผนที่จะนำคอนกรีตจากเปลือกหอยไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ และของตกแต่งขนาดเล็ก

แต่เป้าหมายในระยะยาวคือทดสอบการใช้งานในระดับที่ใหญ่กว่า อาทิ นำไปหุ้มผนังสถาปัตยกรรม หรือการออกแบบภายใน โดยโครงการแรก ๆ ที่มีการนำคอนกรีตรักษ์โลกนี้ไปใช้คือเสื้อผ้าอย่างยูเจเอ็นจี (UJNG) ซึ่งกำลังพิจารณาสร้างผนังด้านหน้าร้านด้วยออยสเตอร์[ครีต] 

ถือเป็นไอเดียที่ดีมาก ๆ ในการเปลี่ยนขยะที่คนไม่ค่อยเห็นค่าอย่างเปลือกหอยนางรมมาทำเป็นคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะรู้หรือไม่ว่า กระบวนการผลิตคอนกรีต หรือซีเมนต์ มีส่วนทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมากถึง 6% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก

ที่มา: Reuters

Cr.https://www.springnews.co.th/keep-the-world/sustainable/853177

#เทรนวันนี้ #วันมอร์ลิงค์ #onemorelink #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม 

#สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก