จากบริบทของสังคมโลกตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ภาวะโลกร้อน” ที่มีปัจจัยมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลายเป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ “การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ” เกิดขึ้นกับสังคมโลก

วันนี้ทุกภาคส่วนเร่งการปรับตัว และหนึ่งในการเตรียมพร้อมที่สำคัญคือ การก้าวข้ามเพื่อเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมหรือฟอสซิล ไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่ง บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower ที่มี “ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์” เป็นกรรมการผู้จัดการ ถือเป็นหนึ่งกรณีศึกษาในฐานะ “หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง” ทั้งในมิติของการคาดการณ์ทางธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี รวมถึงการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

แม้ผลการดำเนินงานของ CKPower ในไตรมาสแรกของปีจะลดลงจากปัจจัยฤดูกาล แต่บริษัทยังสามารถทำกำไรขั้นต้น 560 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 คาดว่า ผลการดำเนินงานจะดีขึ้นจากปัจจัยบวกหลากหลายด้าน ทั้งปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 (NN2) ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีปริมาณน้ำคงเหลือในอ่างเก็บน้ำ และปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมกันยังมีปัจจัยบวกจากฤดูกาล

โดยข้อมูลจากพยากรณ์ของ National Oceanic and Atmospheric Agency (NOAA) คาดว่าในเดือน พ.ค.2567 สภาพภูมิอากาศโลกจะสิ้นสุด เอลนีโญ (El Nino) และ เริ่มเข้าสู่ภาวะลานีญา (LaNina) ในเดือน ก.ค. 2567 ด้วยความน่าจะเป็น 69% และจะเพิ่มเป็นมากกว่า 80% จากเดือน ส.ค.ถึงสิ้นปีนี้ ทำให้ CKPower จะมีผลประกอบการดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งเป็นช่วงพีกตามฤดูกาลของกำไรรายไตรมาสของบริษัท และกำไรเป็นแนวโน้มขาขึ้นในปี 2567-2568

อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นไตรมาสแรกของปี ฐานะทางการเงินของ CKPower ยังคงแข็งแกร่ง มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม อยู่ที่เพียง 0.55 เท่า และเงินสดคงเหลือรวมกว่า 5.5 พันล้านบาท โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา CKPower ได้ออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จำนวน 4,000 ล้านบาท อายุ 2-5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.1 ต่อปี เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการสภาพคล่อง รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่อการลงทุนโครงการต่างๆของบริษัท โดยเฉพาะโครงการไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง ที่ในขณะนี้ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 29% จะช่วยส่งเสริม ให้ประเทศไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ CKPower ยังคงเดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยความ มุ่งมั่นผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้กับประเทศไทย

โดยกระบวนการที่สำคัญ คือ จัดทำกลยุทธ์ด้านจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมการทำงานทั่วทั้งองค์กร สอดคล้องตามมาตรฐาน และแนวโน้มต่างๆในระดับ สากล และแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-Related Financial Disclo sures: TCFD) ในการกำหนดเป้าหมายทั้งระยะ สั้น ระยะกลาง ระยะยาว

พร้อมจัดทำแผนงานและแนวทางในการรับมือต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 (Net Zero GHG Emissions by 2050)

ทั้งนี้ จากเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 CKPower วางแผนเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทั้งจากพลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ให้ได้มากกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2586 รวมทั้งการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร โดยดำเนินการอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainability Development Goals) หรือ SDGs อาทิ เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ และเป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาบริหารจัดการอย่างครอบคลุมในทุกห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมในการดำเนินธุรกิจเพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืน

โดย CKPower ได้วางเป้าหมายการเติบโตในด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและรากฐานความมั่นคงทางพลังงาน ตลอดจนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยในปี 2566 โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในกลุ่ม CKPower สามารถผลิตไฟฟ้าสะอาดส่งให้ประเทศไทยได้กว่า 8.5 ล้านเมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 17 ของไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ในประเทศ และในปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ที่สามารถหวังผลในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2593.

CR.https://www.thairath.co.th/money/sustainability/esg_strategy/2795624

————————————

บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด รับกำจัดกาก

อุตสาหกรรมและให้บริการขนส่งอุตสาหกรรม

ทุกประเภท แบบ One Stop Service

📗Waste Management

-จัดหา / ขนส่ง กากอุตสาหกรรม เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามกฎหมาย

📗Environment Test

-บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งเเวดล้อมภายในโรงงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ฝุ่น ตะกอน น้ำเสีย

📗Monitoring Well

-บริการติดตั้งบ่อติดตามตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน

📗Carbon Credit Consultant

-บริการเป็นที่ปรึกษาการประเมิน Carbon Footprint

—————————————-

หากต้องการข้อมูลด้านการบริการสิ่งแวดล้อม สอบถามได้ที่

Tel : 083-844-6222 / 088-639-2251

#วันมอร์ลิงค์ #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม #สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก #โลกร้อน #ขึ้นหน้าฟีด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *